การบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์
การบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์
ความเป็นมา
การบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์เป็นรูปแบบการบริหารที่เห็นความรับผิดชอบของรัฐบาลต่อประชาชน กล่าวคือ รัฐบาลจะต้องแสดงให้เห็นเป็นที่ประจักษ์แก่ประชาชนว่ารัฐได้ใช้งบประมาณแผ่นดินอย่างมีประสิทธิภาพและได้ผลอย่างไร โดยแสดงว่าได้มีผลงานอะไรบ้าง ได้ให้บริการแก่ประชาชนในเรื่องใดบ้าง ผลงานหรือบริการเหล่านั้นเป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตต่อการทำมาหากินของประชาชนอย่างไร ทั้งนี้รัฐบาลจะต้องสามารถอธิบายต่อประชาชนได้ว่ากิจกรรมที่ทำลงไปนั้นเป็นการใช้เงินภาษีของประชาชนอย่างประหยัดมีประสิทธิภาพก่อให้เกิดประสิทธิผลและคุ้มค่า
การปฏิรูประบบราชการที่ผ่านมาเมื่อปี พ.ศ.2545 เป็นการรับบทบาทภารกิจของภาครัฐ ซึ่งผลที่เห็นเป็นรูปภาพคือจำนวนกระทรวงที่เปลี่ยนไป
มีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทยปี พ.ศ.2546 – 2551 ในรูปแบบของการปรับการมุ่งผลสัมฤทธิ์ เช่น กำหนดให้ต้องมีการจัดทำตัวชี้วัดความสำเร็จของการปฏิบัติงาน และการประเมินผลการปฏิบัติราชการเป็นต้น
ความหมายและแนวคิดของการบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์
การบริหารที่เน้นผลสัมฤทธิ์คือ โดยบริหารที่เน้นผลสัมฤทธิ์โดยการชี้วัดที่เป็นรูปธรรม ซึ่งอาจเขียนเป็นสมการได้ดังนี้
[ ผลสัมฤทธิ์ (Results) = ผลผลิต (Output) + ผลลัพธ์ (Outcomes)]
สรุปแนวคิด คือ
การบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์จะเน้นที่ผลลัพธ์ (Outcomes) ของงาน โดยจะให้ความสำคัญที่การกำหนดพันธกิจและวัตถุประสงค์ของโครงการ/งาน เป้าหมายที่ชัดเจนมีการกำหนดตัวชี้วัด ผลการทำงานหลัก (KP1 = Key Performance Indicator) ได้อย่างชัดเจนเป็นที่เข้าใจของคนในทุกองค์กร
การบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์อาจอธิบายได้อีก แบบว่า เป็นการ
- จัดหาให้ได้ทรัพยากรมาบริหารอย่างประหยัด (Economy)
- บริหารทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ (Efficiency)
- ได้ผลงานที่บรรลุเป้าหมายที่ต้องการ (Reffectiveness)
การบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์กับองค์กร
- องค์การที่สามารถนำระบบการบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์มาใช้ในองค์การได้ทันทีต้องมีคุณลักษณะพื้นฐานที่พึ่งประสงค์อยู่แล้วบางประการ เช่น เป็นองค์การที่ได้จัดทำวิสัยทัศน์ พันธกิจและมีการกำหนดอำนาจหน้าที่ของแต่ละหน่วยงานภายในองค์การไว้ชัดเจนแล้ว หากองค์การใดยังไม่มีคุณลักษณะเหล่านี้ก็สามารถพัฒนาให้มีขึ้นได้ก่อนการนำระบบดังกล่าวมาใช้
- ขั้นตอนใช้ระบบการบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์ในแต่ละองค์การมี 9 ขั้นตอน ได้แก่
1. การวิเคราะห์วิสัยทัศน์และพันธกิจ
2. การกำหนดปัจจัยหลักแห่งความสำเร็จ
3. การกำหนดตัวชี้วัดผลการดำเนินงานหลัก
4. การกำหนดแหล่งข้อมูล
5. การตั้งเป้าหมาย
6. การรวบรวมข้อมูล
7. การบันทึกและอนุมัติข้อมูล
8. การวิเคราะห์ผล
9. การรายงานผล
- เทคนิคที่เกี่ยวข้องกับระบบการบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์ ได้แก่ การวัดผลการปฏิบัติงาน (Performance Measurement) การเทียบงาน (Benchmarking) คุณภาพการให้บริการ (Service Quality) การตรวจสอบผลการปฏิบัติงาน (Performance Auditing) การประเมินผลโครงการ (Project Evaluation) การมอบอำนาจและให้อิสระในการทำงาน (Devolution) and Autonomy) การวางแผนองค์การและแผนกลยุทธ์ (Corporate and Strategic Planning) การทำสัญญาผลการปฏิบัติงาน (Performance Contracting)
- ลักษณะขององค์การที่บริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์
- มีพันธกิจ วัตถุประสงค์องค์การชัดเจน มีเป้าหมายเป็นรูปธรรมโดยเน้นที่ผลผลิตและผลลัพธ์
- ผู้บริหารทุกระดับมีเป้าหมายชัดเจน
- เป้าหมายวัดได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยมีตัวชี้ที่สามารถวัดได้
- การตัดสินใจจัดสรรงบประมาณให้หน่วยงาน จะพิจารณาจากผลสัมฤทธิ์ของงานเป็นหลัก
- เจ้าหน้าที่ทุกคนรู้จักรับผิดชอบต่องานที่ได้กำหนดไว้ตามกำลังความสามารถ
- มีการกระจายอำนาจการตัดสินใจการบริหารเงิน บริหารคนสู่หน่วยงานระดับล่างเพื่อให้สามารถทำงานบรรลุผลได้อย่างเหมาะสม
- มีระบบสนับสนุนการทำงานเรืองระเบียบการทำงานสถานที่อุปกรณ์ในการทำงาน
- มีวัฒนธรรมและอุดมการณ์ร่วมกันในการทำงานที่สร้างสรรค์
- เจ้าหน้าที่มีขวัญและกำลังใจดี
ระบบการบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์กับการปฏิบัติงานยุคใหม่
สรุประบบการบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์กับการปฏิบัติงานยุคใหม่
ภาครัฐได้นำระบบการบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์มาใช้เป็นเครื่องมือในการปฏิรูประบบราชการโดยกำหนดไว้ชัดเจนในแผนปฏิรูประบบราชการ และยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการ
ในการปฏิบัติงานยุคใหม่ที่เน้นการบริหารเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐระบบการบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์จัดเป็นเครื่องสำคัญที่แต่ละส่วนราชการต้องนำไปดำเนินการให้เกิดขึ้นในองค์การเพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติที่สอดคล้องตามหลักเกณฑ์วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 และเกิดประโยชน์ร่วมกันในภาพรวมของประเทศอย่างแท้จริง
**********************
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น