วันศุกร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2554

การบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์

การบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์
การบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์

ความเป็นมา

            การบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์เป็นรูปแบบการบริหารที่เห็นความรับผิดชอบของรัฐบาลต่อประชาชน  กล่าวคือ รัฐบาลจะต้องแสดงให้เห็นเป็นที่ประจักษ์แก่ประชาชนว่ารัฐได้ใช้งบประมาณแผ่นดินอย่างมีประสิทธิภาพและได้ผลอย่างไร  โดยแสดงว่าได้มีผลงานอะไรบ้าง  ได้ให้บริการแก่ประชาชนในเรื่องใดบ้าง  ผลงานหรือบริการเหล่านั้นเป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตต่อการทำมาหากินของประชาชนอย่างไร  ทั้งนี้รัฐบาลจะต้องสามารถอธิบายต่อประชาชนได้ว่ากิจกรรมที่ทำลงไปนั้นเป็นการใช้เงินภาษีของประชาชนอย่างประหยัดมีประสิทธิภาพก่อให้เกิดประสิทธิผลและคุ้มค่า
            การปฏิรูประบบราชการที่ผ่านมาเมื่อปี พ..2545  เป็นการรับบทบาทภารกิจของภาครัฐ  ซึ่งผลที่เห็นเป็นรูปภาพคือจำนวนกระทรวงที่เปลี่ยนไป
            มีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทยปี พ..2546 – 2551  ในรูปแบบของการปรับการมุ่งผลสัมฤทธิ์ เช่น กำหนดให้ต้องมีการจัดทำตัวชี้วัดความสำเร็จของการปฏิบัติงาน  และการประเมินผลการปฏิบัติราชการเป็นต้น
ความหมายและแนวคิดของการบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์
การบริหารที่เน้นผลสัมฤทธิ์คือ โดยบริหารที่เน้นผลสัมฤทธิ์โดยการชี้วัดที่เป็นรูปธรรม  ซึ่งอาจเขียนเป็นสมการได้ดังนี้
[ ผลสัมฤทธิ์ (Results) = ผลผลิต (Output) + ผลลัพธ์ (Outcomes)]

สรุปแนวคิด คือ

            การบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์จะเน้นที่ผลลัพธ์ (Outcomes) ของงาน  โดยจะให้ความสำคัญที่การกำหนดพันธกิจและวัตถุประสงค์ของโครงการ/งาน  เป้าหมายที่ชัดเจนมีการกำหนดตัวชี้วัด  ผลการทำงานหลัก (KP1 = Key Performance Indicator) ได้อย่างชัดเจนเป็นที่เข้าใจของคนในทุกองค์กร
การบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์อาจอธิบายได้อีก  แบบว่า  เป็นการ
-                   จัดหาให้ได้ทรัพยากรมาบริหารอย่างประหยัด (Economy)
-                   บริหารทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ (Efficiency)
-                   ได้ผลงานที่บรรลุเป้าหมายที่ต้องการ  (Reffectiveness)
 การบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์กับองค์กร
-                   องค์การที่สามารถนำระบบการบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์มาใช้ในองค์การได้ทันทีต้องมีคุณลักษณะพื้นฐานที่พึ่งประสงค์อยู่แล้วบางประการ  เช่น  เป็นองค์การที่ได้จัดทำวิสัยทัศน์  พันธกิจและมีการกำหนดอำนาจหน้าที่ของแต่ละหน่วยงานภายในองค์การไว้ชัดเจนแล้ว  หากองค์การใดยังไม่มีคุณลักษณะเหล่านี้ก็สามารถพัฒนาให้มีขึ้นได้ก่อนการนำระบบดังกล่าวมาใช้
-                   ขั้นตอนใช้ระบบการบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์ในแต่ละองค์การมี 9 ขั้นตอน  ได้แก่
1.            การวิเคราะห์วิสัยทัศน์และพันธกิจ
2.            การกำหนดปัจจัยหลักแห่งความสำเร็จ
3.            การกำหนดตัวชี้วัดผลการดำเนินงานหลัก
4.            การกำหนดแหล่งข้อมูล
5.            การตั้งเป้าหมาย
6.            การรวบรวมข้อมูล
7.            การบันทึกและอนุมัติข้อมูล
8.            การวิเคราะห์ผล
9.            การรายงานผล
-                   เทคนิคที่เกี่ยวข้องกับระบบการบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์  ได้แก่  การวัดผลการปฏิบัติงาน (Performance Measurement)  การเทียบงาน (Benchmarking)  คุณภาพการให้บริการ (Service Quality)  การตรวจสอบผลการปฏิบัติงาน (Performance Auditing)  การประเมินผลโครงการ (Project Evaluation)  การมอบอำนาจและให้อิสระในการทำงาน (Devolution) and Autonomy)  การวางแผนองค์การและแผนกลยุทธ์ (Corporate and Strategic Planning)  การทำสัญญาผลการปฏิบัติงาน (Performance Contracting)
-                   ลักษณะขององค์การที่บริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์
-                   มีพันธกิจ  วัตถุประสงค์องค์การชัดเจน  มีเป้าหมายเป็นรูปธรรมโดยเน้นที่ผลผลิตและผลลัพธ์
-                   ผู้บริหารทุกระดับมีเป้าหมายชัดเจน
-                   เป้าหมายวัดได้อย่างเป็นรูปธรรม  โดยมีตัวชี้ที่สามารถวัดได้
-                   การตัดสินใจจัดสรรงบประมาณให้หน่วยงาน  จะพิจารณาจากผลสัมฤทธิ์ของงานเป็นหลัก
-                   เจ้าหน้าที่ทุกคนรู้จักรับผิดชอบต่องานที่ได้กำหนดไว้ตามกำลังความสามารถ
-                   มีการกระจายอำนาจการตัดสินใจการบริหารเงิน  บริหารคนสู่หน่วยงานระดับล่างเพื่อให้สามารถทำงานบรรลุผลได้อย่างเหมาะสม
-                   มีระบบสนับสนุนการทำงานเรืองระเบียบการทำงานสถานที่อุปกรณ์ในการทำงาน
-                   มีวัฒนธรรมและอุดมการณ์ร่วมกันในการทำงานที่สร้างสรรค์
-                   เจ้าหน้าที่มีขวัญและกำลังใจดี

ระบบการบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์กับการปฏิบัติงานยุคใหม่

สรุประบบการบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์กับการปฏิบัติงานยุคใหม่
            ภาครัฐได้นำระบบการบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์มาใช้เป็นเครื่องมือในการปฏิรูประบบราชการโดยกำหนดไว้ชัดเจนในแผนปฏิรูประบบราชการ  และยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการ 
            ในการปฏิบัติงานยุคใหม่ที่เน้นการบริหารเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐระบบการบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์จัดเป็นเครื่องสำคัญที่แต่ละส่วนราชการต้องนำไปดำเนินการให้เกิดขึ้นในองค์การเพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติที่สอดคล้องตามหลักเกณฑ์วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ..2546 และเกิดประโยชน์ร่วมกันในภาพรวมของประเทศอย่างแท้จริง
**********************

วันจันทร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2554

การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน

การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน(School Based Management)

เป็นการกระจายอำนาจการจัดการศึกษาจากส่วนกลาง ให้โรงเรียนมีอำนาจ มีอิสระและคล่องตัวที่จะตัดสินใจในการบริหารจัดการเกี่ยวกับการบริหารโรงเรียน ทั้ง 4 ด้าน คือ
·        ด้านวิชาการ
·        ด้านงบประมาณ
·        ด้านบุคลากร
·        ด้านการบริหารทั่วไป
โดยมีคณะกรรมการโรงเรียน ประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน ตัวแทนครู ตัวแทนนักเรียน ตัวแทนผู้ปกครองและชุมชน ร่วมกันบริหารโรงเรียนให้สอดคล้องและเป็นไปตามความต้องการของนักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชนมากที่สุด
หลักการการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
1.          กระจายอำนาจ
2.          บริหารตนเอง
3.          บริหารแบบมีส่วนร่วม
4.          บริหารโดยมีภาวะผู้นำแบบเกื้อหนุน
5.          พัฒนาระบบ
6.          บริหารโปร่งใสตรวจสอบได้
การบริหารงานโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
เพื่อบรรลุผลสำเร็จ ด้วยหลักธรรมาภิบาล(Good Governance)
1. หลักนิติธรรม
2. หลักคุณธรรม
3. หลักความรับผิดชอบ
4. หลักความโปร่งใส
5. หลักการมีส่วนร่วม
6. หลักความคุ้มค่า
การนำ SBM ไปสู่การปฏิบัติ
·        สร้างความตระหนักในการมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของสถานศึกษา ได้แก่ ผู้บริหาร ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน
·        พัฒนาบุคลากร ให้ความรู้แก่ครู และผู้เกี่ยวข้อง
·        ร่วมกันวิเคราะห์สภาพปัจจุบัน ปัญหา กำหนดวิสัยทัศน์ เป้าหมาย ผลผลิตทางการศึกษา ผลสัมฤทธิ์และคุณลักษณะอันพึงประสงค์
·        การดำเนินงาน โดยยึดหลักการบริหารวงจร PDCA
การร่วมกันวางแผน(Plan)
การร่วมกันปฏิบัติตามแผน(Do)
การร่วมกันตรวจสอบ(Check)
การร่วมกันปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่อง(Action)