วันพฤหัสบดีที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2554

Heresy and Blanchard's Situation Leadership Theory

Heresy and Blanchard's Situation  Leadership Theory
ทฤษฏีภาวะผู้นำเชิงสถานการณ์ของ เฮอร์เซย์และแบลนชาร์ด (Heresy and Blanchard 1977 ,1982)  เรียกว่า  ทฤษฎีวงจรชีวิต  (Life – cucle Theory) ซึ่งอธิบายถึงภาวะผู้นำที่จำเป็นในแต่ละสถานการณ์  ทฤษฎีนี้มุ่งเน้นที่ผู้นำทำอะไรมากกว่าผู้นำเป็นอะไร  ทฤษฎีนี้ตั้งอยู่บนความเชื่อที่ว่าประสิทธิผลของผู้นำขึ้นอยู่กับความสอดคล้องที่เหมาะสมระหว่างพฤติกรรมผู้นำกับวุฒิภาวะของกลุ่มหรือบุคคล
          จึงได้แบ่งพฤติกรรมภาวะผู้นำออกเป็น  4   แบบ  คือ 
1.  ภาวะผู้นำแบบสั่งการ (Telling) คือ  เป็นพฤติกรรมที่มุ่งงานสูงแต่มุ่งสัมพันธ์ต่ำ  เหมาะกับผู้ตามที่มีวุฒิภาวะต่ำ  ดังนั้นผู้นำจะต้องสั่งเป็น
2.  ภาวะผู้นำแบบการแนะ (Selling) คือ เป็นพฤติกรรมที่มุ่งงานสูงและมุ่งสัมพันธ์สูงด้วย  เหมาะกับผู้ตามที่มีความเต็มใจที่จะปฏิบัติงานสูง  แต่ความสามารถในการปฏิบัติงานอยู่ในระยะที่กำลังพัฒนา  ผู้นำยังจำเป็นจะต้องให้คำแนะนำและชี้นำอยู่ในระดับมากอยู่  ให้การสนับสนุนและให้ความมั่นใจในระดับสูงด้วย  ควรแสดงท่าทางและวาจาที่แสดงการสนับสนุนและยกย่องบ้าง                               
3.  ภาวะผู้นำแบบให้มีส่วนร่วม (Participation) คือ  เป็นพฤติกรรมที่มุ่งสัมพันธ์สูงแต่มุ่งสัมพันธ์ต่ำ    ผู้ตามต้องการการสนับสนุนเป็นอย่างมาก  แต่ปรารถนาพฤติกรรมชี้นำแต่เพียงเล็กน้อย   ทั้งนี้เพราะวุฒิภาวะเกี่ยวกับงานของผู้ตามได้พัฒนาขึ้นแล้ว  ผู้นำควรจะแสดงกิริยาท่าทางให้เห็นว่าให้การสนับสนุนผู้ตามและมีความเชื่อมั่นในผู้ใต้บังคับบัญชา  ในสถานการณ์นี้ผู้นำจะต้องให้ผู้ตามได้แสดงความคิดเห็นและส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้ใต้บังคับบัญชาได้ตัดสินใจ
4.  ภาวะผู้นำแบบการมอบอำนาจ (Delegation) คือ เป็นพฤติกรรมที่มุ่งงานต่ำและมุ่งสัมพันธ์ต่ำ ผู้นำแสดงพฤติกรรมชี้นำและให้การสนับสนุนน้อยที่สุด  ผู้ตามมีวุฒิภาวะทางจิตวิทยาและวุฒิภาวะเกี่ยวกับงานในระดับสูง  เป็นผู้ที่ตระหนักในภารกิจและจุดประสงค์ของงาน  สามารถปฏิบัติงานได้เอง  จึงไม่ต้องการการนิเทศงานหรือต้องการนิเทศงานก็แต่เพียงเล็กน้อย  ในสถานการณ์แบบนี้ผู้นำควรจะให้ผู้ตามรับผิดชอบในการตัดสินใจและรับผิดชอบในการปฏิบัติงานเอง
โดยสรุป  ทฤษฎีภาวะผู้นำเชิงสถานการณ์ของเฮอร์เซย์และแบลนชาร์ด แบ่งพฤติกรรมผู้นำเป็น  2  แบบ  คือ  
1.       พฤติกรรมมุ่งงาน    เป็นพฤติกรรมที่ผู้นำกำหนดบทบาท สั่งการเกี่ยวกับอะไร  อย่างไร  เมื่อไหร่  ที่ไหน  และ
กับใครหรือใครทำ  ในเรื่องเกี่ยวกับ  การกำหนดเป้าหมาย  การจัดองค์การ  การกำหนดเวลา  การสั่งการ  การควบคุม
2.       พฤติกรรมมุ่งสัมพันธ์    เป็นพฤติกรรมที่ผู้นำกำหนดบทบาท  สั่งการเกี่ยวกับการสื่อสารสองทาง  การรับฟังความ
คิดเห็น  การส่งเสริมพฤติกรรม  การสนับสนุนทางสังคมและอารมณ์  โดย  ให้การสนับสนุน  การสื่อสาร  การส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล  การเป็นผู้ฟังที่ดี   การให้ข้อมูลย้อนกลับ 

                                                                        ความเต็มใจในการทำงาน


ความสามารถ
ในการทำงาน

เต็มใจ
ไม่เต็มใจ

        มีมาก

แบบการมอบอำนาจ


แบบให้มีส่วนร่วม

       มีน้อย

แบบการแนะ


แบบการสั่ง


วันศุกร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2554

การบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์

การบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์
การบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์

ความเป็นมา

            การบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์เป็นรูปแบบการบริหารที่เห็นความรับผิดชอบของรัฐบาลต่อประชาชน  กล่าวคือ รัฐบาลจะต้องแสดงให้เห็นเป็นที่ประจักษ์แก่ประชาชนว่ารัฐได้ใช้งบประมาณแผ่นดินอย่างมีประสิทธิภาพและได้ผลอย่างไร  โดยแสดงว่าได้มีผลงานอะไรบ้าง  ได้ให้บริการแก่ประชาชนในเรื่องใดบ้าง  ผลงานหรือบริการเหล่านั้นเป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตต่อการทำมาหากินของประชาชนอย่างไร  ทั้งนี้รัฐบาลจะต้องสามารถอธิบายต่อประชาชนได้ว่ากิจกรรมที่ทำลงไปนั้นเป็นการใช้เงินภาษีของประชาชนอย่างประหยัดมีประสิทธิภาพก่อให้เกิดประสิทธิผลและคุ้มค่า
            การปฏิรูประบบราชการที่ผ่านมาเมื่อปี พ..2545  เป็นการรับบทบาทภารกิจของภาครัฐ  ซึ่งผลที่เห็นเป็นรูปภาพคือจำนวนกระทรวงที่เปลี่ยนไป
            มีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทยปี พ..2546 – 2551  ในรูปแบบของการปรับการมุ่งผลสัมฤทธิ์ เช่น กำหนดให้ต้องมีการจัดทำตัวชี้วัดความสำเร็จของการปฏิบัติงาน  และการประเมินผลการปฏิบัติราชการเป็นต้น
ความหมายและแนวคิดของการบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์
การบริหารที่เน้นผลสัมฤทธิ์คือ โดยบริหารที่เน้นผลสัมฤทธิ์โดยการชี้วัดที่เป็นรูปธรรม  ซึ่งอาจเขียนเป็นสมการได้ดังนี้
[ ผลสัมฤทธิ์ (Results) = ผลผลิต (Output) + ผลลัพธ์ (Outcomes)]

สรุปแนวคิด คือ

            การบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์จะเน้นที่ผลลัพธ์ (Outcomes) ของงาน  โดยจะให้ความสำคัญที่การกำหนดพันธกิจและวัตถุประสงค์ของโครงการ/งาน  เป้าหมายที่ชัดเจนมีการกำหนดตัวชี้วัด  ผลการทำงานหลัก (KP1 = Key Performance Indicator) ได้อย่างชัดเจนเป็นที่เข้าใจของคนในทุกองค์กร
การบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์อาจอธิบายได้อีก  แบบว่า  เป็นการ
-                   จัดหาให้ได้ทรัพยากรมาบริหารอย่างประหยัด (Economy)
-                   บริหารทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ (Efficiency)
-                   ได้ผลงานที่บรรลุเป้าหมายที่ต้องการ  (Reffectiveness)
 การบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์กับองค์กร
-                   องค์การที่สามารถนำระบบการบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์มาใช้ในองค์การได้ทันทีต้องมีคุณลักษณะพื้นฐานที่พึ่งประสงค์อยู่แล้วบางประการ  เช่น  เป็นองค์การที่ได้จัดทำวิสัยทัศน์  พันธกิจและมีการกำหนดอำนาจหน้าที่ของแต่ละหน่วยงานภายในองค์การไว้ชัดเจนแล้ว  หากองค์การใดยังไม่มีคุณลักษณะเหล่านี้ก็สามารถพัฒนาให้มีขึ้นได้ก่อนการนำระบบดังกล่าวมาใช้
-                   ขั้นตอนใช้ระบบการบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์ในแต่ละองค์การมี 9 ขั้นตอน  ได้แก่
1.            การวิเคราะห์วิสัยทัศน์และพันธกิจ
2.            การกำหนดปัจจัยหลักแห่งความสำเร็จ
3.            การกำหนดตัวชี้วัดผลการดำเนินงานหลัก
4.            การกำหนดแหล่งข้อมูล
5.            การตั้งเป้าหมาย
6.            การรวบรวมข้อมูล
7.            การบันทึกและอนุมัติข้อมูล
8.            การวิเคราะห์ผล
9.            การรายงานผล
-                   เทคนิคที่เกี่ยวข้องกับระบบการบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์  ได้แก่  การวัดผลการปฏิบัติงาน (Performance Measurement)  การเทียบงาน (Benchmarking)  คุณภาพการให้บริการ (Service Quality)  การตรวจสอบผลการปฏิบัติงาน (Performance Auditing)  การประเมินผลโครงการ (Project Evaluation)  การมอบอำนาจและให้อิสระในการทำงาน (Devolution) and Autonomy)  การวางแผนองค์การและแผนกลยุทธ์ (Corporate and Strategic Planning)  การทำสัญญาผลการปฏิบัติงาน (Performance Contracting)
-                   ลักษณะขององค์การที่บริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์
-                   มีพันธกิจ  วัตถุประสงค์องค์การชัดเจน  มีเป้าหมายเป็นรูปธรรมโดยเน้นที่ผลผลิตและผลลัพธ์
-                   ผู้บริหารทุกระดับมีเป้าหมายชัดเจน
-                   เป้าหมายวัดได้อย่างเป็นรูปธรรม  โดยมีตัวชี้ที่สามารถวัดได้
-                   การตัดสินใจจัดสรรงบประมาณให้หน่วยงาน  จะพิจารณาจากผลสัมฤทธิ์ของงานเป็นหลัก
-                   เจ้าหน้าที่ทุกคนรู้จักรับผิดชอบต่องานที่ได้กำหนดไว้ตามกำลังความสามารถ
-                   มีการกระจายอำนาจการตัดสินใจการบริหารเงิน  บริหารคนสู่หน่วยงานระดับล่างเพื่อให้สามารถทำงานบรรลุผลได้อย่างเหมาะสม
-                   มีระบบสนับสนุนการทำงานเรืองระเบียบการทำงานสถานที่อุปกรณ์ในการทำงาน
-                   มีวัฒนธรรมและอุดมการณ์ร่วมกันในการทำงานที่สร้างสรรค์
-                   เจ้าหน้าที่มีขวัญและกำลังใจดี

ระบบการบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์กับการปฏิบัติงานยุคใหม่

สรุประบบการบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์กับการปฏิบัติงานยุคใหม่
            ภาครัฐได้นำระบบการบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์มาใช้เป็นเครื่องมือในการปฏิรูประบบราชการโดยกำหนดไว้ชัดเจนในแผนปฏิรูประบบราชการ  และยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการ 
            ในการปฏิบัติงานยุคใหม่ที่เน้นการบริหารเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐระบบการบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์จัดเป็นเครื่องสำคัญที่แต่ละส่วนราชการต้องนำไปดำเนินการให้เกิดขึ้นในองค์การเพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติที่สอดคล้องตามหลักเกณฑ์วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ..2546 และเกิดประโยชน์ร่วมกันในภาพรวมของประเทศอย่างแท้จริง
**********************

วันจันทร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2554

การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน

การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน(School Based Management)

เป็นการกระจายอำนาจการจัดการศึกษาจากส่วนกลาง ให้โรงเรียนมีอำนาจ มีอิสระและคล่องตัวที่จะตัดสินใจในการบริหารจัดการเกี่ยวกับการบริหารโรงเรียน ทั้ง 4 ด้าน คือ
·        ด้านวิชาการ
·        ด้านงบประมาณ
·        ด้านบุคลากร
·        ด้านการบริหารทั่วไป
โดยมีคณะกรรมการโรงเรียน ประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน ตัวแทนครู ตัวแทนนักเรียน ตัวแทนผู้ปกครองและชุมชน ร่วมกันบริหารโรงเรียนให้สอดคล้องและเป็นไปตามความต้องการของนักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชนมากที่สุด
หลักการการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
1.          กระจายอำนาจ
2.          บริหารตนเอง
3.          บริหารแบบมีส่วนร่วม
4.          บริหารโดยมีภาวะผู้นำแบบเกื้อหนุน
5.          พัฒนาระบบ
6.          บริหารโปร่งใสตรวจสอบได้
การบริหารงานโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
เพื่อบรรลุผลสำเร็จ ด้วยหลักธรรมาภิบาล(Good Governance)
1. หลักนิติธรรม
2. หลักคุณธรรม
3. หลักความรับผิดชอบ
4. หลักความโปร่งใส
5. หลักการมีส่วนร่วม
6. หลักความคุ้มค่า
การนำ SBM ไปสู่การปฏิบัติ
·        สร้างความตระหนักในการมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของสถานศึกษา ได้แก่ ผู้บริหาร ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน
·        พัฒนาบุคลากร ให้ความรู้แก่ครู และผู้เกี่ยวข้อง
·        ร่วมกันวิเคราะห์สภาพปัจจุบัน ปัญหา กำหนดวิสัยทัศน์ เป้าหมาย ผลผลิตทางการศึกษา ผลสัมฤทธิ์และคุณลักษณะอันพึงประสงค์
·        การดำเนินงาน โดยยึดหลักการบริหารวงจร PDCA
การร่วมกันวางแผน(Plan)
การร่วมกันปฏิบัติตามแผน(Do)
การร่วมกันตรวจสอบ(Check)
การร่วมกันปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่อง(Action)

วันอาทิตย์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ผลงานที่ภาคภูมิใจ

 
การแข่งขัน นาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์  ระดับประถมศึกษาปีที่ 4 - 6   ได้รับรางวัลเหรียญทอง
ชนะเลิศอันดับที่  1  ในการแข่งขันงานศิลปะหัตกรรมนักเรียนเฉลิมพระเกียรติ ปีการศึกษา 2553  
ระดับเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 2        โรงเรียนรัตนบุรี     
วันที่    2  -  3  ธันวาคม  พ.ศ.  2553
                                                                     
การแข่งขัน นาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์  ระดับประถมศึกษาปีที่ 4 - 6   ได้รับรางวัลเหรียญเงิน
 ในการแข่งขันงานศิลปะหัตกรรมนักเรียนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ครั้งที่ 60 ปีการศึกษา 2553  
ระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ        จังหวัดอุดรธานี     
วันที่    24  -  26  ธันวาคม  พ.ศ.  2553
การแข่งขัน นาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์  ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 3   ได้รับรางวัลเหรียญทอง
 ในการแข่งขันงานศิลปะหัตกรรมนักเรียนเฉลิมพระเกียรติ ปีการศึกษา 2553  
ระดับเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 2        โรงเรียนรัตนบุรี     
วันที่    2  -  3  ธันวาคม  พ.ศ.  2553

ความภาคภูมิใจในชีวิตครู

รางวัลครูดีเด่น  กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ   งานวันครู  ประจำปี  2554
16  มกราคม   2554