วันพฤหัสบดีที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2554

Heresy and Blanchard's Situation Leadership Theory

Heresy and Blanchard's Situation  Leadership Theory
ทฤษฏีภาวะผู้นำเชิงสถานการณ์ของ เฮอร์เซย์และแบลนชาร์ด (Heresy and Blanchard 1977 ,1982)  เรียกว่า  ทฤษฎีวงจรชีวิต  (Life – cucle Theory) ซึ่งอธิบายถึงภาวะผู้นำที่จำเป็นในแต่ละสถานการณ์  ทฤษฎีนี้มุ่งเน้นที่ผู้นำทำอะไรมากกว่าผู้นำเป็นอะไร  ทฤษฎีนี้ตั้งอยู่บนความเชื่อที่ว่าประสิทธิผลของผู้นำขึ้นอยู่กับความสอดคล้องที่เหมาะสมระหว่างพฤติกรรมผู้นำกับวุฒิภาวะของกลุ่มหรือบุคคล
          จึงได้แบ่งพฤติกรรมภาวะผู้นำออกเป็น  4   แบบ  คือ 
1.  ภาวะผู้นำแบบสั่งการ (Telling) คือ  เป็นพฤติกรรมที่มุ่งงานสูงแต่มุ่งสัมพันธ์ต่ำ  เหมาะกับผู้ตามที่มีวุฒิภาวะต่ำ  ดังนั้นผู้นำจะต้องสั่งเป็น
2.  ภาวะผู้นำแบบการแนะ (Selling) คือ เป็นพฤติกรรมที่มุ่งงานสูงและมุ่งสัมพันธ์สูงด้วย  เหมาะกับผู้ตามที่มีความเต็มใจที่จะปฏิบัติงานสูง  แต่ความสามารถในการปฏิบัติงานอยู่ในระยะที่กำลังพัฒนา  ผู้นำยังจำเป็นจะต้องให้คำแนะนำและชี้นำอยู่ในระดับมากอยู่  ให้การสนับสนุนและให้ความมั่นใจในระดับสูงด้วย  ควรแสดงท่าทางและวาจาที่แสดงการสนับสนุนและยกย่องบ้าง                               
3.  ภาวะผู้นำแบบให้มีส่วนร่วม (Participation) คือ  เป็นพฤติกรรมที่มุ่งสัมพันธ์สูงแต่มุ่งสัมพันธ์ต่ำ    ผู้ตามต้องการการสนับสนุนเป็นอย่างมาก  แต่ปรารถนาพฤติกรรมชี้นำแต่เพียงเล็กน้อย   ทั้งนี้เพราะวุฒิภาวะเกี่ยวกับงานของผู้ตามได้พัฒนาขึ้นแล้ว  ผู้นำควรจะแสดงกิริยาท่าทางให้เห็นว่าให้การสนับสนุนผู้ตามและมีความเชื่อมั่นในผู้ใต้บังคับบัญชา  ในสถานการณ์นี้ผู้นำจะต้องให้ผู้ตามได้แสดงความคิดเห็นและส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้ใต้บังคับบัญชาได้ตัดสินใจ
4.  ภาวะผู้นำแบบการมอบอำนาจ (Delegation) คือ เป็นพฤติกรรมที่มุ่งงานต่ำและมุ่งสัมพันธ์ต่ำ ผู้นำแสดงพฤติกรรมชี้นำและให้การสนับสนุนน้อยที่สุด  ผู้ตามมีวุฒิภาวะทางจิตวิทยาและวุฒิภาวะเกี่ยวกับงานในระดับสูง  เป็นผู้ที่ตระหนักในภารกิจและจุดประสงค์ของงาน  สามารถปฏิบัติงานได้เอง  จึงไม่ต้องการการนิเทศงานหรือต้องการนิเทศงานก็แต่เพียงเล็กน้อย  ในสถานการณ์แบบนี้ผู้นำควรจะให้ผู้ตามรับผิดชอบในการตัดสินใจและรับผิดชอบในการปฏิบัติงานเอง
โดยสรุป  ทฤษฎีภาวะผู้นำเชิงสถานการณ์ของเฮอร์เซย์และแบลนชาร์ด แบ่งพฤติกรรมผู้นำเป็น  2  แบบ  คือ  
1.       พฤติกรรมมุ่งงาน    เป็นพฤติกรรมที่ผู้นำกำหนดบทบาท สั่งการเกี่ยวกับอะไร  อย่างไร  เมื่อไหร่  ที่ไหน  และ
กับใครหรือใครทำ  ในเรื่องเกี่ยวกับ  การกำหนดเป้าหมาย  การจัดองค์การ  การกำหนดเวลา  การสั่งการ  การควบคุม
2.       พฤติกรรมมุ่งสัมพันธ์    เป็นพฤติกรรมที่ผู้นำกำหนดบทบาท  สั่งการเกี่ยวกับการสื่อสารสองทาง  การรับฟังความ
คิดเห็น  การส่งเสริมพฤติกรรม  การสนับสนุนทางสังคมและอารมณ์  โดย  ให้การสนับสนุน  การสื่อสาร  การส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล  การเป็นผู้ฟังที่ดี   การให้ข้อมูลย้อนกลับ 

                                                                        ความเต็มใจในการทำงาน


ความสามารถ
ในการทำงาน

เต็มใจ
ไม่เต็มใจ

        มีมาก

แบบการมอบอำนาจ


แบบให้มีส่วนร่วม

       มีน้อย

แบบการแนะ


แบบการสั่ง